วันนี้เพิ่งอ่านหนังสือพิมพ์เดลินิวส์พูดถึงอบเชย ที่นะนำมาทดแทนยารักษาโรคเบาหวานประเภท 2(เข้าใจว่าประเภทที่ไม่ต้องพึ่งอินซูลิน ถ้าเข้าใจผิดคุณชมช่วยแก้ไขให้ด้วยนะครับ) เลยลองค้นหาข้อมูลมาอ่าน
ชื่ออื่นๆ -
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ
Cinnamon
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cinnamomum verum
ชื่อวงศ์ Lauraceae
สรรพคุณ
อบเชยทำให้ท้องเป็นปกติดี แก้อาการจุกเสียด แน่นท้อง ขับลม ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร แก้ท้องร่วง ขับปัสสาวะ ย่อยไขมัน (อาจเป็นเพราะไปช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำย่อยที่ใช้ในการย่อยไขมัน) ทำให้สดชื่น แก้อ่อนเพลีย มีสารต้านแบคทีเรีย และสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ (ผลงานวิจัยจากสหรัฐอเมริกา)
อบเชยที่ใช้ปรุงอาหารจะใช้ชนิดหลอด (ม้วนเปลือกให้เป็นหลอด) ใช้ปรุงอาหารเช่นทำพะโล้ ใช้ทำยาไทยหลายตำรับ ตำราไทยระบุว่าอบเชยมีกลิ่นหอม มีรสสุขุม มีสรรพคุณใช้บำรุงจิตใจ แก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง ขับลม บำรุงธาตุ แก้บิด แก้ไข้ สันนิบาต ใช้ปรุงยานัตถุ์แก้ปวดหัว นอกจากการใช้เปลือกตำราไทยยังระบุว่ารากและใบมีกลิ่นหอมรสสุขุม ใช้ต้มดื่มขับลมบำรุงธาตุ แก้ท้องอืดเฟ้อ
สรรพคุณที่กล่าวถึงในบทความนี้ทั้งหมด คือส่วนที่ละลายน้ำได้และไม่ใช่น้ำมันที่กลั่นได้ (cinnamon oil) ซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมแต่งกลิ่น เหล้า ขนมหวาน สบู่ และยาเป็นต้น อบเชยชนิดหลอดชาวตะวันตกนิยมใช้คนกาแฟ ชา หรือโกโก้ ซึ่งสาร MHCP ก็จะละลายออกมาอยู่ในเครื่องดื่มเหล่านี้ และให้ผลในการควบคุมระดับน้ำตาลเช่นกัน แต่เราไม่สามารถทราบถึงปริมาณ MHCP ซึ่งละลายอยู่ได้ ซึ่งไม่เป็นผลดีนัก หากต้องการใช้ในการรักษาเพราะควรทราบปริมาณที่ใช้อย่างชัดเจน
ผลงานวิจัยที่สำคัญ
ดร.ริชาร์ด แอนเดอร์สัน ได้แนะนำอาสาสมัครของเขาที่ป่วยเป็นเบาหวาน ให้ลองใช้อบเชยเป็นประจำ ปรากฏว่ามีอาสาสมัครนับร้อย ได้รายงานผลดีกลับเข้ามาว่าสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ อบเชยช่วยเร่งให้การสันดาปน้ำตาลกลูโคสเพิ่มขึ้น 20 เท่า นักวิทยาศาสตร์เห็นว่าการกินอบเชยนั้นไม่มีอันตราย แต่ถ้าหากการทดลองรับประทานเองแต่ละบุคคลนั้น หากได้ผลดีก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีเกินคาด ทั้งยังเป็นยาที่เป็นสารธรรมชาติ และในรายที่ไม่ได้ผลดี ก็ไม่ได้มีอันตรายแต่อย่างใด
อบเชยทำหน้าที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบการให้สัญญาณอินซูลิน (Insulin-Signaling System) และอาจจะทำได้ดีกว่าเสียอีกโดยที่อบเชยสามารถทำงาน ก่อนที่จะนำกลูโคสเข้าสู่เซลล์ สามารถใช้อบเชยร่วมกับอินซูลินได้ดี นอกจากนี้ยังพบว่าสาร MHCP สามารถลดความดันโลหิตของสัตว์ทดลองได้ และมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีอีกด้วย
แม้ว่าอบเชยจะยังไม่สามารถขึ้นทะเบียนใช้แทนยาได้ แต่ ดร.แอนเดอร์สัน ก็แนะนำว่าควรทดลองใช้ 1/4 ช้อนชาถึง 1 ช้อนชาต่อวัน เมื่อคำนวณดูแล้ว 1 ช้อนชาจะหนักประมาณ 1,200 มิลลิกรัม ดังนั้น ขนาด 1/4 ช้อนชา จึงประมาณเท่ากับ 300 มิลลิกรัม สามารถบรรจุลงในแคปซูล หมายเลข 1 ได้กำลังพอดี ขนาดที่ควรใช้ก็คือ 1 แคปซูล ทุกมื้ออาหาร วันละ 4 มื้อ ในกรณีที่ใช้เพื่อป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง คือคนที่บิดามารดาเป็นเบาหวาน ควรรับประทานพร้อมกับอาหารมื้อใหญ่ วันละ 1-2 เม็ด ซึ่งจะช่วยย่อยอาหารและขับลมได้ด้วย อบเชยชนิดที่ ดร.แอนเดอร์สันใช้ทดลองนั้นเป็นชนิดที่เข้าหาได้ในประเทศสหรัฐอเมริกา มาจากเปลือกต้นอบเชยจีนคือ Cassia (Cinnamomum cassia) ซึงคล้ายกับชนิดที่มีอยู่ในป่าบ้านเรา อบเชยชวาจะใช้ได้ดีที่สุด
การใช้อบเชยในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เป็นวิธีช่วยผู้เป็นเบาหวานโดยใช้สารธรรมชาติ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ยิ่งกับเกษตรกรผู้ปลูกอบเชยในเขตเอเชียตอนใต้รวมถึงประเทศไทยด้วย มีหลายฝ่ายคิดว่าอบเชยทีดีคือ อบเชยที่ยังไม่ผ่านการฉายแสงเพื่อฆ่าเชื้อโรค จึงควรนำเปลือกอบเชยแห้งที่ม้วนอยู่เป็นหลอดมาบดให้ละเอียดเก็บไว้ใช้เองหรือจำหน่าย แต่สิ่งที่สำคัญสำหรับผู้เป็นเบาหวานคือ จะต้องไม่ลืมเรื่องการงดอาหารที่ไม่ควรบริโภค และมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ปฏิบัติตนตามแพทย์สั่ง และ พบแพทย์ตามนัดหมาย หากใช้อบเชยกรุณาบอกแพทย์ด้วย
หากซื้ออบเชยชนิดเป็นหลอดเพื่อนำมาบดใช้เอง ควรเลือกที่ใหม่และยังไม่ถูกนำไปต้มสกัดเอารสกลิ่นไปใช้ก่อนแล้ว จึงจะเห็นผลเช่นที่ดร.แอนเดอร์สันได้ทดลองไว้ หากเลือกไม่ดีอาจใช้ไม่ได้ผล จึงควรคำนึงในเรื่องคุณภาพและชนิดของอบเชยชนิดที่ใช้ด้วย
ล่าสุดจากการติดต่อโดยตรงกับดร.แอนเดอร์สัน ได้รับทราบว่าผลการศึกษาวิจัยในคนถูกตีพิมพ์ในวารสาร เดือนธันวาคม พ.ศ.2546 ผลที่ได้จากการให้อบเชยแก่ผู้ป่วยเบาหวานพบว่าผู้ป่วยมีระดับน้ำตาล คอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ในเลือดดีขึ้นระหว่าง 12-30 % จึงเป็นผลที่ยืนยันการศึกษาวิจัยเดิมและน่านำไปใช้เพื่อป้องกัน และใช้ร่วมกับยารักษาเบาหวานต่อไป
สัมนาเชิงปฏิบัติการ อบเชยกับเบาหวาน
สถานีวิทยุ FM Trinity Radio ร่วมกับภาควิชาพยาธิวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
วันเสาร์ที่ 16 กรกฏาคม 2548