ผู้เขียน หัวข้อ: พริกขี้หนู กับปัจจัยเสี่ยง ของโรคหัวใจและหลอดเลือด  (อ่าน 4240 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ทรงพล ลำพูน

  • เซียน
  • ****
  • ออฟไลน์
  • 507
    469
  • เพศ: ชาย
    • @pump_upp - best crypto pumps on telegram !




พริกขี้หนู กับปัจจัยเสี่ยง ของโรคหัวใจและหลอดเลือด
 

พริก มีการบันทึกว่าพบครั้งแรกเมื่อประมาณ 7,000 ปี ก่อนคริสตกาลที่ประเทศเม็กซิโก ผู้ค้นพบคือ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ผู้ค้นพบทวีปอเมริกานั่นเอง
พริก เป็นเครื่องปรุงรสที่ใช้กันแพร่หลายทั่วโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และในประเทศไทยคนไทยบริโภคพริกเพื่อเพิ่มรสชาติของอาหารมานานหลายชั่วอายุคนแล้ว จึงพบว่าพริกเป็นส่วนประกอบสำคัญของอาหารไทย

   

พริกขี้หนู ซึ่งภาษาอังกฤษอาจใช้คำว่า chili, chili pepper,red pepper, cayene pepper
หรือcapsicum ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษากรีกคำว่า "capso" ซึ่งแปลว่าเผ็ดร้อนส่วนสารที่ให้ความเผ็ดร้อน เรียกว่า "แคปไซซิน" (capsicin)
เป็นสารจำพวกไฮโดรคาร์บอน ซึ่งในพริกขี้หนูไทยมีปริมาณแคปไซซินอยู่ในช่วงร้อยละ 0.34-0.38 (ต่อน้ำหนักแห้ง) โดยแคปไซซินจะกระจายอยู่ทุกส่วนของผลพริก แต่ส่วนที่พบมากที่สุด นั่นหมายถึงส่วนที่เผ็ดที่สุดคือส่วนของรก หรือส่วนที่เป็นไส้ของพริกซึ่งเป็นที่เกาะของเม็ดนั่นเอง ส่วนเม็ดและเปลือกของพริก มีปริมาณแคปไซซินน้อยกว่า

สารแคปไซซินสามารถละลายได้ในสาร ละลายพวกแอลกอฮอล์ อีเทอร์ และไขมัน แต่ไม่ละลายในน้ำ
ซึ่งแสดงให้เห็นได้เมื่อเรากินพริกแล้วรู้สึกเผ็ดร้อน ถ้าดื่มน้ำก็จะไม่หายเผ็ด แต่ถ้าดื่มนม หรือดื่มเบียร์
จะทำให้หายเผ็ดได้ดีกว่าผลของพริกและแคปไซซินนอกจากจะให้ความเผ็ดร้อนแล้วยังมีคุณสมบัติช่วยบรรเทาอาการปวด ลดการอักเสบของ กล้ามเนื้อและข้อ ซึ่งปัจจุบันมีผู้นำ มาทำเป็นเจลทาแก้ปวดกล้ามเนื้อ นอกจากนั้นแคปไซซิน ยังมีส่วนเพิ่มการเคลื่อนไหว ของระบบทางเดินอาหาร และที่น่าสนใจคือผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดและปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดด้วย

 

ผลต่อการขยายตัวของหลอดเลือด
แคปไซซินสามารถยับยั้งการหดตัวของหลอดเลือด ส่งผลให้มีการขยายตัวของหลอดเลือดทำให้มีเลือดไปเลี้ยงผิวหนังบริเวณนั้นได้มากขึ้น

 

ผลต่อการจับกลุ่มของเกล็ดเลือด (platelet aggregation)
ถ้าเกล็ดเลือดมีการจับกลุ่มกันง่าย หรือมากกว่าปกติจะทำให้เพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจได้มากขึ้น เพราะเลือดสามารถจับตัวกันเป็นก้อนแล้วอาจไปอุดกั้นหลอดเลือดโดยเฉพาะหลอดเลือดหัวใจ ก็จะทำให้เกิดภาวะหัวใจขาดเลือด มีการศึกษาในหลอดทดลอง พบว่าแคปไซซินสามารถลดการจับกลุ่มของเกล็ดเลือดได้ และจากการศึกษาในคนพบว่าเมื่อให้กินพริกขี้หนูสด 5 กรัมสับละเอียดพร้อมน้ำ 1 แก้วแล้ววัดค่าการจับกลุ่มของเกล็ดเลือดหลังจากกินทันที จนถึง 1 ชั่วโมงหลังกินพบว่ามีการยืดระยะเวลาของการจับกลุ่มของเกล็ดเลือดออกไป ซึ่งผลนี้ส่งผลภายใน 30 นาทีหลังจากการกินพริกเข้าไป ยิ่งไปกว่านั้นในการศึกษาในระยะยาวคือ 4 สัปดาห์ ให้คนกินพริกขี้หนูวันละ 5 กรัม พร้อมอาหารปกติ พบว่าหลังกินแล้ว 4 สัปดาห์ การจับกลุ่มของเกล็ดเลือดก็มีการยืดระยะเวลาออกไปเช่นกัน

 

ผลต่อการละลายลิ่มเลือด (fibrinolysis)
หากมีความผิดปกติของการละลายลิ่มเลือด โดยที่มีการละลายลิ่มเลือดได้น้อยหรือเลือดแข็งตัวมากกว่าปกติทำให้เสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจได้มากขึ้น เพราะมีลิ่มเลือดไปอุดกั้นในหลอดเลือดหัวใจได้หรือถ้าไปอุดกั้นหลอดเลือดที่สมอง ก็อาจเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้
แคปไซซินมีผลต่อการละลายลิ่มเลือดจากการศึกษาที่ผ่านมามีการทดลองให้นักศึกษาแพทย์ของไทยกินพริกขี้หนู 2 ช้อนโต๊ะพร้อมกับก๋วยเตี๋ยวทำให้มีการละลายลิ่มเลือดเพิ่มขึ้น(โดยการวัดค่าEuglobulin Lysis Time) ซึ่งส่งผลทันทีทันใดหลังกิน และนอกจากนั้นยังพบว่าไฟบริโนเจน (ซึ่งเป็นตัวสำคัญในกระบวนการหยุดเลือด) ถ้าหากมีปริมาณมากไป ก็จะเพิ่มความเสี่ยงที่เป็นโรคหัวใจ

จากการศึกษาดังกล่าวพบว่าคนไทยมีปริมาณไฟบริโนเจนในเลือดต่ำกว่าของชาวอเมริกันที่อาศัยในประเทศไทยสำหรับการศึกษาของผู้เขียนได้ศึกษาการละลายลิ่มเลือดโดยวัดเอนไซม์ตัวหนึ่งในกระบวนการละลายลิ่มเลือดที่ชื่อว่าทิชชูพลาสมิโนเจน เอ็กทิเวเตอร์ (tissue plasminogen activator ; TPA) จากการศึกษาทางระบาดวิทยาพบว่า ในผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด จะมีจำนวน TPA มากกว่าคนปกติ เมื่อทำการศึกษาโดยให้กลุ่มตัวอย่าง 12 คน กินพริกขี้หนูสดจำนวน 5 กรัม แล้วเจาะเลือดดูเอนไซม์ TPA พบว่าปริมาณ TPA ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ภายในเวลา 30 นาทีหลังกินซึ่งนั่นก็หมายถึงพริกขี้หนูน่าจะมีผลต่อการละลายลิ่มเลือด

 

ผลต่อระดับไขมันในเลือด
มีการศึกษาพบว่าพริกและแคปไซซินสามารถยับยั้งการดูดซึมไขมันและลดระดับไขมันไตรกลีเซอร์ไรในหนูได้ และจากการศึกษาโดยการให้หนูกินอาหารที่มีไขมันสูง เพื่อทำให้ระดับไขมันในเลือดสูงขึ้น
(ได้แก่ โคเลสเตอรอล ไตรกลีเซอร์ไรด์ วีแอลดีแอล และแอลดีแอล) และเมื่อให้หนูกินพริก และแคปไซซิน เข้าไป ทำให้ระดับไขมันในเลือดดังกล่าวลดลง นอก จากนั้นยังมีการศึกษาที่พบว่าแคปไซซิน
และพริกลดการสร้างไขมันในร่างกายได้อีกด้วย
สำหรับการศึกษาของผู้เขียน เป็นการศึกษาในคนไข้ที่มีไขมันในเลือดสูงแล้วแบ่งกลุ่มให้กินพริกขี้หนู 5 กรัมร่วมกับอาหารปกติ เป็นเวลานาน 4 สัปดาห์ เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมคือไม่กินพริก พบว่าภายหลัง 4 สัปดาห์ ไขมันโคเลสเตอรอลทั้งหมด (total cholesterol) แอลดีแอล (LDL) และและเอชดีแอล (HDL) ในกลุ่มที่ไม่กินพริกสูงขึ้น แต่ในกลุ่มที่กินพริกระดับไขมันโคเลสเตอรอลทั้งหมด (total cholesterol) แอลดีแอล (LDL) ไม่เปลี่ยนแปลง แต่เอชดีแอล (HDL) สูงขึ้น

 

ผลต่อการเผาผลาญพลังงาน (energy expenditure)
การศึกษาในประเทศญี่ปุ่นพบว่า การกินพริก 10 กรัม ทำให้เพิ่มอัตราการเผาผลาญร่างกาย โดยเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วภายในเวลา 30 นาที ซึ่งก็สอดคล้องกับการศึกษาของผู้เขียนซึ่งพบว่าหลังจากกินพริกขี้หนู 5 กรัม อัตราการเผาผลาญพลังงานสูงขึ้นทันทีทันใดและสูงอยู่นานถึง 30 นาทีนั่นอาจเป็นสิ่งที่อธิบายว่าเหตุใดเราจึงรู้สึกเผ็ดร้อนหลังจากที่กินพริกเข้าไป

 

ผลต่อการเปลี่ยนแปลงน้ำตาลในเลือด
ก่อนหน้านี้มีการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่า แคปไซซินยับยั้งการดูดซึมน้ำตาลกลูโคสและในการศึกษาของผู้เขียนเป็น การศึกษาในมนุษย์ ก็ยืนยันเช่นเดียวกัน
การศึกษานี้ กลุ่มที่ใช้ศึกษาเป็นหญิงวัยหมดประจำเดือนจำนวน 10 คน ทำการเปรียบเทียบน้ำตาลในเลือด โดยการดื่มน้ำตาลกลูโคส 75 กรัม ครั้งแรกดื่มน้ำตาลอย่างเดียว แล้วเจาะเลือดณ เวลาก่อนกิน และหลังกินที่เวลา 15, 30 และ 60 นาที เก็บไว้เป็นข้อมูลพื้นฐาน
หลังจากนั้นอีกวันหนึ่งให้ดื่มน้ำตาลกลูโคสเช่นเดียวกับวันแรก แต่กินร่วมกับพริกและเจาะเลือด ณ เวลาเช่นเดิม แล้วนำมาเปรียบเทียบกันพบว่า น้ำตาลในเลือดหลังดื่มน้ำตาลพร้อมพริก 30 นาที จะต่ำกว่าน้ำตาลในเลือดที่ไม่ได้กินพริกประมาณร้อยละ 20 (ดูภาพที่ 1) ซึ่งน่าจะสรุปได้ว่าพริกอาจมีผลต่อการลดน้ำตาลในเลือดได้ภายใน 30 นาทีหลังกินพริก
   

 

พริกขี้หนูเม็ดเล็กๆ แต่มีคุณค่าทางการแพทย์มากกว่ารูปร่างที่คนเรามองเห็น เข้าทำนอง "เล็กพริกขี้หนู" นั่นแหละ
 

พริก : อาหารเสริมสุขภาพสมุนไพรจากครัวไทย

คนไทยคุ้นเคยกับรสเผ็ดของพริกมานานแล้ว และไม่เฉพาะคนไทยเท่านั้นที่ชอบรสเผ็ด ชาวต่างชาติก็ชอบรสเผ็ดของพริกจำนวนมาก
โดยเฉลี่ยแล้วคนไทยกินพริกประมาณ 8 กิโลกรัมต่อคนต่อปี
พริกที่ผลิตได้ในประเทศไทย ร้อยละ 80 นำไปแปรรูปในภาคอุตสาหกรรม เช่น ซอส น้ำจิ้ม พริกป่น เป็นต้น อีกร้อยละ 20 นำมาใช้บริโภคกันในครัวเรือนพริก
นอกจากจะทำให้รสชาติของอาหารอร่อยเพิ่มขึ้นแล้ว ในทางการแพทย์พริกถือว่าเป็นพืชสมุนไพรที่สำคัญชนิดหนึ่งดังนั้นจึงมีงานวิจัยทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับพริกจำนวนมาก เป็นต้นว่าผลิตภัณฑ์เจลพริกตำรับของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วท.) และขององค์การเภสัชกรรม รวมถึงยาหม่องพริกสินค้า OTOP ของแต่ละท้องถิ่นด้วย

 

รู้จักสายพันธุ์พริก
ถิ่นกำเนิดดั้งเดิมของพริกอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งมีประวัติการใช้พริกมายาวนานหลายพันปีก่อนที่คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส จะสำรวจพบทวีปอเมริกาเสียอีก และด้วยรสชาติที่น่าพิศวงนี่เอง เขาจึงได้นำพืชชนิดนี้เข้าไปเผยแพร่ในยุโรป และเรียกชื่อใหม่ว่า พริกแดง (red pepper) ตามลักษณะสีของผล เพื่อปลูกเปรียบเทียบกับพริกไทยดำ (black pepper, Piper nigrum L.) ที่นิยมปลูกกันแล้ว ต่อจากนั้นแพร่กระจายไปยังประเทศต่างๆ ทั่วทวีปเอเชีย
พริก (แดง) กับพริกไทย (ดำ) แม้จะมีชื่อเรียกว่าพริกเหมือนกัน แต่สายพันธุ์ไม่เกี่ยวข้องกันเลย
พริก เป็นพืชที่อยู่ใน "วงศ์" โซลานาซิอี (So-lanaceae) เช่นเดียวกับมะเขือเทศ มันฝรั่ง ยาสูบ และพิทูเนีย

พริกจัดอยู่ใน "สกุล" แคปซิคัม (Capsicum) มีมากกว่า 25 สายพันธุ์ แต่ที่นิยมปลูกกันทั่วไปมีเพียง 5 สายพันธุ์เท่านั้น คือ

1.C. annuum L.
คำว่า annuum หมายถึง annual แปลว่ารายปี หรือประจำปี นิยมปลูกกันทั่วโลก และผสมข้ามพันธุ์ได้ง่าย คนไทยรู้จักกันดีคือ พริกชี้ฟ้า

2.C. baccatum L.
คำว่า baccatum หมายถึง berrylike พริกชนิดนี้ มีถิ่นกำเนิดในเปรูและโบลิเวีย ปัจจุบันแพร่กระจายไปทั่วทวีปอเมริกาใต้ ได้แก่ พริกอาจิ (aji)

3.C. chinensis Jacq.
คำว่า chinensis หมายถึง from China ซึ่งเป็นการตั้งชื่อที่อาจจะทำให้เข้าใจผิดได้ว่าเป็นพริกที่มีถิ่นกำเนิดจากประเทศจีน ทว่าที่จริงแล้วมีถิ่นกำเนิดแถบลุ่มน้ำอะเมซอน จากนั้นแพร่กระจายไปแถบแคริบเบียน ไปอเมริกากลาง อเมริกาใต้ ได้แก่พริก ฮาบาเนโร ที่ได้ขึ้นชื่อว่าเผ็ดที่สุด

4.C. frutescens L.
คำว่า frutescens หมายถึง shrubby of bushy ซึ่งหมายถึงไม้พุ่มขนาดเล็ก พริกที่โดดเด่นในกลุ่มนี้ได้แก่ พริกทาบาสโก รวมทั้งพริกขี้หนูของไทยด้วยที่มีความเผ็ดไม่เป็นรองใคร

5.C. pubescens R. & P.
คำว่า pubescens หมายถึง hairy มีถิ่นกำเนิดในโบลิเวียแต่ปัจจุบันมีปลูกทั่วทวีปอเมริกา ได้แก่ พริกโรโคโทสำหรับเมืองไทยเรานิยมพริกหลายชนิด มีทั้งเผ็ดมากและเผ็ดน้อย หรือบางชนิดเกือบไม่เผ็ด เลย เช่น พริกขี้หนู พริกชี้ฟ้า พริกหวาน พริกหยวก เป็นต้น
 


ขนาดและสีสันของพริก
ส่วนของพริกที่นำมากินได้แก่ ผล มักเรียกกันว่าเม็ด
ผลของพริกมีขนาดและรูปร่างแตกต่างกันออกไป มีทั้งยาว รี กลม หรือบุบบู้บี้ มีขนาดเล็กกว่าหนึ่งเซนติเมตร ไปจนถึงหลายนิ้ว บางชนิดเล็กกว่าหัวแม่มือไปจนถึงใหญ่เท่ากำปั้น
สีสันของพริกมีหลากหลาย เช่น สีเขียว แดง ม่วง เหลือง ส้ม ขาว ขึ้นกับสายพันธุ์
ขนาดของผลพริกไม่สัมพันธ์กับความเผ็ด เช่น พริกขี้หนูมีขนาดเล็กแต่เผ็ดร้อนแรงจนนำมาเปรียบเทียบว่า "เล็กพริกขี้หนู"
ตรงกันข้ามกับพริกหยวกที่มีขนาดใหญ่กว่าพริกขี้หนู แต่เผ็ดน้อยกว่า

 

ในพริกมีอะไร
พริกมีรสเผ็ดเพราะว่ามีสารชนิดหนึ่ง คือ แคปไซซิน (capsaicin)
แคปไซซินเป็นสารธรรมชาติจำพวกอัลคาลอยด์ ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ทนทานต่อความร้อนและความเย็น
ดังนั้นการต้มให้สุกหรือแช่แข็งก็ไม่มีผลทำให้ความเผ็ดสูญเสียไป
แหล่งที่อยู่ของแคปไซซินในพริกก็คือ ภายในผล หรือภายในเม็ดพริก ส่วนใหญ่จะอยู่ในเยื่อแกนกลาง สีขาว หรือเรียกกันว่า รก (placenta)
เปลือกและเมล็ดของพริกจะมีสารแคปไซซินน้อยมาก ซึ่งคนทั่วไปมักคิดว่าเมล็ดของพริกคือส่วนที่เผ็ดที่สุด
ปริมาณของแคปไซซินที่มีอยู่ในพริก เรียกตามลำดับคือ พริกขี้หนู พริกเหลือง พริกชี้ฟ้า พริกหยวก
และพริกหวาน
คุณสมบัติที่ดีของแคปไซซินคือสามารถละลายได้ดีในไขมัน น้ำมัน และแอลกอฮอล์คนไทยเราคุ้นเคยกับการดื่มน้ำหลังกินอาหารเผ็ดๆ แต่น้ำเพียงช่วยลดอาการแสบร้อนเท่านั้น ไม่ได้ช่วยลดความเผ็ดลงคุณค่าของพริกไม่ได้อยู่ที่ความเผ็ดอย่างเดียว สีของพริก ไม่ว่าจะเป็นสีเหลือง สีส้ม และสีแดงของผล คือสารตั้งต้นของวิตามินเอที่ช่วยบำรุงสายตา
ในพริกมีวิตามินซีปริมาณสูงมากกว่าปริมาณวิตามินซีในผลส้มแต่วิตามินซีสลายตัวเมื่อถูกความร้อน ดังนั้นถ้าต้องการวิตามินซีจากพริก จะต้องกินพริกสด

 

ความเผ็ดของพริก
ความเผ็ดของพริกมีแตกต่างกันตั้งแต่ เผ็ดน้อย ปานกลาง มาก และมากที่สุดมี
นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันได้คิดค้นวิธีการวัดความเผ็ดของพริก สามารถแยกกลุ่มเรียงตามความ เผ็ดได้ดังนี้
1.ฮาบาเนโรแดงซาวีนา (Red Savina Habanero) มีความเผ็ด 580,000 หน่วย ติดอันดับเผ็ดที่สุดในโลก
2.ฮาบาเนโร (Habanero) เผ็ดระดับ 200,000-500,000 หน่วย
3.พริกขี้หนู (Thai Bired Pepper) เผ็ดระดับ 100,000-350,000 หน่วย
4.พริกชี้ฟ้า (Cayenne) เผ็ดปานกลาง ระดับ 30,000-50,000 หน่วย
5.พริกหยวก หรือ พริกหวาน (Bell Pepper หรือ Italian Sweet) ไม่เผ็ดเลย จึงมีความเผ็ดเป็น 0 หน่วย

 

ประโยชน์ของพริก
พริกได้รับการนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ เป็นเวลายาวนานหลายพันปีแล้วมีข้อโต้แย้งกันมากเกี่ยวกับปริมาณการกินพริกมากๆ อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น โรคกระเพาะหรือโรคระบบทางเดินอาหาร คำตอบที่ได้ก็คือ

การกินพริกไม่ก่อให้เกิดผลเสียใดๆ ต่อสุขภาพจากการศึกษาเรื่องพริกทั้งอดีตและปัจจุบันพบว่า พริกมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ดังนี้
1.บรรเทาอาการไข้หวัดและการหายใจสะดวกสบายยิ่งขึ้น
สารแคปไซซินที่อยู่ในพริกช่วยลดน้ำมูก หรือสิ่งกีดขวางระบบการหายใจอันเนื่องจากเป็นไข้หวัด ไซนัสหรือโรคภูมิแพ้ต่างๆ ช่วยบรรเทาอาหารไอ

2.ลดการอุดตันของหลอดเลือด
การอุดตันของหลอดเลือดเป็นสาเหตุสำคัญของโรคหัวใจล้มเหลว หรือการเสียชีวิตจากหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองอุดตัน การกินพริกเป็นประจำจะช่วยลดอัตราเสี่ยงจากโรคทั้ง 2 ชนิด ช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดี ลดความดัน ทั้งนี้เพราะสารจำพวกบีต้าแคโรทีนและวิตามินซีช่วยเสริมสร้างผนังหลอดเลือดให้แข็งแรง เพิ่มการยืดตัวของผนังหลอดเลือด ทำให้ปรับเข้ากับแรงดันระดับต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น

3.ลดปริมาณสารโคเลสเตอรอล
แคปไซซินช่วยป้องกันไม่ให้ตับสร้างโคเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL-low density lipoprotein) ในขณะเดียวกันก็ส่งเสริมให้มีการสร้างโคเลสเตอรอลชนิดดี (HDL-high density lipoprotein)ขึ้นทำให้ปริมาณ ของไตรกลีเซอไรด์ในกระแสเลือดต่ำลง ซึ่งเป็นผลดีต่อสุขภาพ

4.ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง
พริกเป็นพืชที่มีวิตามินซีสูง การกินอาหารที่มีวิตามินซีมากๆ จะช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งได้
วิตามินซียับยั้งการสร้างสารไนโตรซามีนซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งในระบบทางเดินอาหารวิตามินซีช่วยเสริมสร้างคอลลาเจนที่เป็นส่วนประกอบของกระดูกอ่อน รวมถึงเป็นส่วนประกอบของผิวหนัง กล้ามเนื้อและปอด คอลลาเจนเป็นโปรตีนที่สามารถหยุดการแพร่กระจายของเซลล์ร้ายได้
นอกจากนี้ วิตามินซียังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) ทำการหยุดยั้งบทบาทของอนุมูลอิสระ (free radicals) ที่จะก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ของเซลล์
สารบีต้าแคโรทีนในพริกช่วยลดอัตราเสี่ยงของโรคมะเร็งในปอดและในช่องปาก เพราะคนที่กินผักที่มีสารบีต้าแคโรทีนน้อยจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งมากกว่าคนที่กินผักที่มีบีต้าแคโรทีนสูงถึง 7 เท่าสารบีต้าแคโรทีนมีคุณสมบัติช่วยลดอัตราการกลายพันธุ์ของเซลล์และทำลายเซลล์มะเร็ง

5.บรรเทาอาการเจ็บปวด
มนุษย์ใช้พริกเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดมานานแล้ว เช่น ลดอาการปวดฟัน บรรเทาอาการเจ็บคอ และการอักเสบของผิวหนัง
ปัจจุบันมีการใช้สารแคปไซซินเป็นส่วนประกอบของขี้ผึ้งใช้ทาบรรเทาอาการปวดอันเนื่องมาจากผดผื่นคัน และอาการผื่นแดงที่เกิดบนผิวหนัง รวมทั้งอาการปวดที่เกิดจากเส้นเอ็น อาการปวดประสาทหลังเป็นงูสวัด โรคเกาต์หรือโรคข้อต่ออักเสบ

6.อารมณ์แจ่มใส
สารแคปไซซินช่วยเสริมสร้างอารมณ์สดชื่น เนื่องจากสารนี้มีการส่งสัญญาณให้ต่อมใต้สมองสร้างสารเอนดอร์ฟิน (endorphin) ออกฤทธิ์คล้ายมอร์ฟีน คือบรรเทาอาการเจ็บปวด ทำให้อารมณ์แจ่มใส

7.ป้องกันตัวประมาณ
20 ปีที่แล้ว มีสเปรย์ป้องกันตัวยี่ห้อหนึ่ง มีพริกเป็นส่วนประกอบสำคัญสเปรย์ที่กล่าวถึงนี้ไม่ทำอันตรายถึงชีวิต แต่ถ้าฉีดเข้าตาโดยตรงอาจจะทำให้มองไม่เห็นประมาณ 2-3นาทีระยะเวลาที่ยาวนาน ไม่ได้ทำให้ความเผ็ดของพริกจางหายไป
ในขณะเดียวกันมีการค้นพบสรรพคุณทางการแพทย์ของพริกที่สามารถนำมาปรุงเป็นตำรับยารักษาอาการต่างๆ ที่เกิดกับร่างกายของคนเรา

อย่ามองข้ามความ "เผ็ด" และขนาด "เล็ก" พริกขี้หนู

***********************************************************************************************

ขอขอบคุณข้อมูลและเอกสารอ้างอิง
1.คุณพรสวรรค์ ดิษยบุตร
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
2.รศ.ภญ.พร้อมจิต ศรลัมพ์
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
3.UPDATE สิงหาคม 2546
4. ศูนย์ข้อมูลสมุนไพร
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
5.หนังสือ สมุนไพร...ไม้พื้นบ้าน เล่ม 3

***********************************************************************************************

รู้จักสรรพคุณของพริก

⇒พริกขี้หนู
สกุล Capsicum frutescens Linn.
วงศ์Solanaceae

ชื่ออื่นๆ
ครี ดีปลี ดีปลีขี้นก ปะแกว พริก พริกขี้นก พริกแด้ พริกแต้ พริกนก มะระตี้ มือซาซีซู
มือส่าโพ หมักเพ็ด Bird pepper, Chili pepper, Tabasco pepper

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ล้มลุก สูง 30-90 เซนติเมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับรูปไข่หรือรูปวงรี กว้าง 2-4 เซนติเมตร ยาว 3-8 เซนติเมตร
โคนใบเอียง ดอกช่อ ออกที่ซอกใบช่อละ 2-3 ดอก กลีบดอกสีขาวหรือเขียวอ่อน ผลเป็นผลสด สีเขียว เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีส้มแดง

สรรพคุณ
ใบ แก้อาการคันที่เกิดจากมดคันไฟ
ผล ขับลม ช่วยเจริญอาหาร รักษาโรคเกาต์
ไม่ระบุส่วนที่ใช้ แก้พิษกัดต่อย ขับลมในลำไส้ แก้ไอ แก้เสมหะ แก้ปวด แก้เจ็บคอ แก้อาหารไม่ย่อย แก้เบื่ออาหาร บำรุงธาตุเป็นยากระตุ้น ลดอาการไขข้ออักเสบ

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
ขับปัสสาวะ ทำให้เกิดอาการแพ้ของผิวหนัง ฆ่าไส้เดือน ก่อการกลายพันธุ์ กระตุ้นการผลิตน้ำดี ลดโคเลสเตอรอล ยับยั้งอนุมูลอิสระ เป็นพิษต่อตา เป็นพิษต่อหนูขาว เสริมฤทธิ์บาร์บิทูเรต ยับยั้งการสร้างแอนติเจนของเชื้อ Epstein-Barr virus ผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เกิดการหดเกร็งของลำไส้ บีบมดลูก กระตุ้นการอักเสบ ยับยั้งการดูดซึมน้ำตาลในทางเดินอาหาร เพิ่มความเป็นกรดในกระเพาะอาหาร ลดปริมาณไขมันในตับ ระงับปวด
 

⇒ พริกชี้ฟ้า
สกุล Capsicum annuum Linn.
วงศ์ Acuminatum

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ล้มลุก สูง 30-100 เซนติเมตร
ใบเดี่ยว เรียงสลับรูปวงรีหรือรูปใบหอก กว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาว 6-8 เซนติเมตร โคนและปลายใบแหลม
ขอบใบเรียบ ดอกเดี่ยวออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาวเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้นๆ ปลายแยกเป็นรูปปากแตรมี 5 แฉก
ผลสดรูปทรงกระบอก ยาว 6-12 เซนติเมตร เมื่อสุก สีแดงหรือเหลืองส้ม เมล็ดกลมแบน สีขาวนวลมีจำนวนมาก

สรรพคุณ
ไม่ระบุส่วนที่ใช้ ขับลมในโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้ปวดตามบั้นเอว

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
กระตุ้นการขับเคลื่อนทางลำไส้
 

⇒ พริกไทย
สกุล Piper nigrum Linn.
วงศ์ Piperaceae

ชื่ออื่นๆ
พริกน้อย Black perpper, Pepper

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้เถาเนื้อแข็ง เลื้อยเกาะ งอกรากที่ข้อ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรี โคนใบมนหรือรูปหัวใจ ปลายใบแหลม กว้าง 5-14 เซนติเมตร
ยาว 13-18 เซนติเมตร ดอกช่อเชิงลดออกที่ซอกใบ ไม่มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก ใบประดับรูปขอบขนานแกมรูปดาบ ผลสดรูปทรงกลม เมื่อสุกสีแดง

สรรพคุณ
ราก บำรุงธาตุ แก้เสมหะ แก้ลมในลำไส้ ช่วยย่อยอาหาร แก้ลมวิงเวียน แก้ปวดท้อง ขับลม ช่วยเจริญอาหาร
ใบ แก้ลมจุกเสียดแน่น แก้ปวดมวนในท้อง แก้นอนไม่หลับ
เถา ขับลมในท้อง บำรุงธาตุ ช่วยย่อยอาหาร
เมล็ด แก้จุกเสียด แน่นท้อง ขับลมในลำไส้ ช่วยเจริญอาหาร
ไม่ระบุส่วนที่ใช้ แก้ไข้หวัด แก้ท้องเสีย แก้อาหารไม่ย่อย

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
ต้านเชื้อแบคทีเรีย กระตุ้นการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ยับยั้งการหดเกร็งของลำไส้ ขยายหลอดเลือดหัวใจ เพิ่มการหลั่งน้ำดี ป้องกันตับจากสารพิษ แก้ปวด ลดการอักเสบ ยับยั้งการเจริญเติบโตของตัวอ่อนแมลง
 

⇒ พริกหยวก
สกุล Capsicum annuum Linn.
วงศ์ Solanaceae

ชื่ออื่นๆ
Chili pepper, chili plant, Garden pepper, Paprika, Red pepper, Spanish pepper, Sweet pepper

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ล้มลุกฤดูเดียว หรือไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 0.5-1.5 เมตร ลำต้นตั้งตรงแตกกิ่งก้านมาก
ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่ กว้าง 5-8เซนติเมตร ยาว 10-16 เซนติเมตร โคนใบและปลายใบแหลม
ก้านใบยาวได้ถึง 10 เซนติเมตร ขอบใบเรียบ ดอกเดี่ยวออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาวเชื่อมติดกัน
เป็นรูประฆังหรือรูปปากแตร ปลายแยกเป็น 5-7 แฉกผลสดมีหลายรูปร่างและขนาด มักจะเป็นรูปกรวยกว้างยาวได้ถึง 30 เซนติเมตร เมื่อยังอ่อนอยู่มีสีเขียว เหลือง ครีม หรือม่วง เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีแดง ส้ม เหลืองหรือน้ำตาลเมล็ดรูปโล่ แบน สีเหลืองอ่อน

สรรพคุณ
ผล ขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อ เป็นยาเจริญอาหาร บำรุงหัวใจ ใช้ทาถูกนวดให้ร้อนแดง ช่วยย่อยอาหาร แก้ไขข้ออักเสบ แก้อาการปวดเมื่อย
ไม่ระบุส่วนที่ใช้ ขับปัสสาวะ แก้กามโรค บำรุงเลือด

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านเชื้อรา ฆ่าพยาธิ รักษาแผลในกระเพาะอาหาร
กระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง ลดระดับไตรกลีเซอไรด์และโคเลสเตอรอล
ลดความดันเลือด เพิ่มการหลั่งกรดของกระเพาะอาหาร
 

⇒ พริกหาง
สกุล Piper cubeba Linn.
วงศ์ Piperaceae

ชื่ออื่นๆ
Cubeb, Tailed pepper

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้เถาเนื้อแข็ง ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรี ปลายใบแหลม โคนใบรูปหัวใจเบี้ยว
ดอกช่อเชิงลดออกที่ซอกใบ ดอกย่อยสีขาว ไม่มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก ผลสด รูปทรงกลมสีน้ำตาล

สรรพคุณ
ราก บำรุงธาตุ ถอน พิษฟกบวม แก้หนองใน แก้ปัสสาวะพิการ
ผล ขับปัสสาวะ ฆ่าเชื้อในระบบปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์ ขับเสมหะ ช่วยเจริญอาหาร ขับลม เป็นยาขับประจำเดือน แก้ไข้ บำรุงโลหิต แก้บาดแผลสด
เมล็ด ขับปัสสาวะ แก้โรคกาฬเลือด ขับลมในลำไส้ ทำให้หาว เรอ ถอนพิษฟกบวม แก้กามโรค บำรุงธาตุ
ไม่ระบุส่วนที่ใช้ ขับปัสสาวะ ขับลม บำรุงธาตุ

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านเชื้อรา ต้านเชื้อไวรัส ฆ่าตัวอ่อนแมลง ทำให้ระคายเคืองผิวหนัง ลดความดันเลือด


ลิ้งค์หัวข้อ: http://www.plengpakjai.net/index.php?topic=39418


ขอบคุณ คุณทรงพล มากครับ ที่เอาข้อมูลดีๆ มาแบ่งปัน :'e:31


ลิ้งค์หัวข้อ: http://www.plengpakjai.net/index.php?topic=39418