ผู้เขียน หัวข้อ: ท้องเสีย เรื่องธรรมดาที่ไม่ธรรมดา  (อ่าน 3423 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ทรงพล ลำพูน

  • เซียน
  • ****
  • ออฟไลน์
  • 507
    469
  • เพศ: ชาย
    • @pump_upp - best crypto pumps on telegram !


                            โรคท้องเสียหรืออุจจาระร่วงหรือท้องเดินเป็นปัญหาความเจ็บป่วยที่พบได้บ่อยที่สุดในเด็กโดยเฉพาะช่วงอากาศเย็น ๆ แบบนี้จะมีเด็กป่วยท้องเสียกันเป็นจำนวนมากทำให้เด็กป่วยเสียคุณภาพชีวิต พ่อแม่เสียเวลาต้องมาเฝ้าดูแล และยังระบาดไปถึงคนในครอบครัวรวมทั้งผู้ใหญ่ด้วย สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทยจึงขอเสนอสาระความรู้เกี่ยวกับเรื่องท้องเสียมาให้รู้จักกันเพื่อปฏิบัติได้ถูกต้อง

                                                                                                                                    โรคท้องเสียเกิดจากอะไร
                            โรคท้องเสียที่พบในเด็กมีสาเหตุหลักมาจากการติดเชื้อไวรัสรองลงมาคือการติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้ออื่น ๆ เช่น เชื้อปรสิตอาหารเป็นพิษจากสารพิษในสิ่งแวดล้อมที่ปนเปื้อนในอาหารหรือสารพิษที่สร้างขึ้นจากเชื้อแบคทีเรีย นอกจากนี้แล้วท้องเสียยังอาจเกิดจากการได้รับยาบางชนิด ชาวบ้านอาจบอกว่า เด็กท้องเสียเพราะเด็กยืดตัว แต่แท้จริงแล้วไม่ใช่

                                                                                                                                     ไวรัสโรต้า สำคัญอย่างไร
                            จากข้อมูลทางระบาดวิทยาของประเทศไทยและทั่วโลกพบว่ามากกว่าร้อยละ 90 ของโรคท้องเสียในเด็กเกิดจากเชื้อไวรัสเช่นไวรัสโรต้า เอ็นเตอโรไวรัสโนโรไวรัสอะดีโนไวรัสรวมทั้งไวรัสอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดโรคหวัดก็อาจก่อให้เกิดอาการท้องเสียได้ทั้งหมดนี้ไวรัสตัวที่สำคัญคือไวรัสโรต้า เนื่องจากเป็นไวรัสที่ทำให้เกิดอาการท้องเสียได้รุนแรงมากที่สุด ทำให้ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมากกว่าไวรัสตัวอื่น ๆ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็กจะรุนแรงมากกว่าเด็กโตประมาณครึ่งหนึ่งของเด็กที่ท้องเสียรุนแรงจนต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเกิดจากการติดเชื้อไวรัสโรต้า เด็กที่เคยท้องเสียจากไวรัสโรต้า อาจเป็นซ้ำได้เพราะไวรัสโรต้านี้มีหลายสายพันธุ์ แต่อาการมักไม่หนักเท่ากับการเป็นครั้งแรก นอกจากนี้ ไวรัสโรต้ายังสามารถแพร่กระจายเชื้อได้เร็วกว่าเพราะอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานกว่า เป็นเวลาหลายชั่วโมงโดยเฉพาะช่วงที่อากาศเย็น และผู้ป่วยเหล่านี้สามารถขับถ่ายเชื้อได้ในปริมาณมากหลายล้านตัว เป็นเวลานานเป็นสัปดาห์แต่เชื้อเพียง 10 ตัวก็ก่อนโรคได้แล้ว แม้ว่าไวรัสโรต้ามักเกิดปัญหาในเด็กแต่ก็อาจก่อปัญหาในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุได้และอาจมีอาการรุนแรงได้เช่นกัน

                                                                                                                      อาการของโรคท้องเสียแต่ละชนิดแตกต่างกันอย่างไร
                           โรคท้องเสียที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสมักจะมีอาการอาเจียนนำมาก่อนแล้วถ่ายเหลวเป็นน้ำ ถ่ายมากจนก้นแดงอาจมีไข้หรือมีอาการระบบทางเดินหายใจเช่น อาการหวัด ไอร่วมด้วยได้บ้างไวรัสโรต้าจะมีอาการรุนแรงกว่าเชื้ออื่น และยังอาจทำให้เด็กมีไข้สูงจนเกิดการชักได้ ส่วนโรคท้องเสียที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรืออาหารเป็นพิษอาจมีอาการคล้ายกันได้แต่มักพบมีอาเจียนน้อยกว่าถ้าอุจจาระเป็นมูกปนเลือดจะเรียกอาการท้องเสียนั้นว่า “โรคบิด” ซึ่งสาเหตุมักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อปรสิต

                                                                                                                     ความรุนแรงจากโรคท้องเสียมีมากแค่ไหนและเป็นอันตรายมากหรือไม่
                           โดยทั่วไปโรคท้องเสียส่วนใหญ่มักมีอาการไม่รุนแรงสามารถหายได้เองแต่ในระหว่างที่มีอาการอาจเกิดอันตรายได้หากมีอาการอาเจียนมากจนกินอะไรไม่ได้หรือถ่ายมากจนขาดน้ำซึ่งอาจมีอาการเช่น หิวน้ำ ปากแห้ง ตาโบ๋ กระวนกระวาย ซึมโดยเฉพาะโรคท้องเสียที่เกิดจากเชื้อไวรัสโรต้าจะทำให้มีอาการถ่ายเป็นน้ำปริมาณมากและหากผู้ป่วยไม่สามารถกินน้ำเกลือแร่เข้าไปชดเชยได้อย่างเพียงพอจนเกิดการขาดน้ำอย่างรุนแรง อาจทำให้เกิดภาวะช็อกและหากแก้ไขไม่ทันอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ในเด็กเล็ก ๆ ที่เป็นโรคบิดจากเชื้อแบคทีเรีย เช่น ซัลโมเนลล่า อาจมีอันตรายจากแบคทีเรียเข้าสู่กระแสเลือดได้

                                                                                                                      การดูแลรักษาโรคท้องเสียควรทำอย่างไรเมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์
                          การรักษาที่สำคัญคือการกินน้ำเกลือแร่ชดเชยที่สูญเสียไปทางอุจจาระและอาเจียน ไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ หรือยาฆ่าเชื้อ กรณีท้องเสียที่ไม่รุนแรงเช่นผู้ป่วยมีอาการอาเจียนไม่มากยังพอกินน้ำหรืออาหารเหลวหรืออาหารอ่อนๆได้ ก็สามารถรักษาประคับประคองเองที่บ้านโดยการจิบน้ำเกลือแร่ทีละน้อยบ่อย ๆ อาจสลับกับน้ำชาหรือน้ำข้าวปรับอาหารให้เป็นอาหารอ่อน งดนมและผลไม้ ยกเว้นกล้วย ในเด็กเล็กที่ยังกินนมแม่ไม่จำเป็นต้องหยุดนมแม่ หากไม่สามารถกินน้ำหรืออาหารได้ มีอาเจียนมาก หรือซึม หรือเพลียมาก หรือมีอาการไข้สูง เป็นบิดถ่ายเป็นมูกเลือดควรไปพบแพทย์แพทย์อาจพิจารณาให้ยาแก้อาเจียน และน้ำเกลือเข้าทางกระแสเลือดตามความจำเป็น

                                                                                                                     การป้องกันโรคท้องเสีย
                        เนื่องจากโรคท้องเสียส่วนใหญ่เกิดจากการสัมผัสโดยตรงหรือทางอ้อมกับเชื้อในอุจจาระของผู้ป่วย หรือมีการปนเปื้อนของเชื้อโรคในอาหารและน้ำการรักษาสุขอนามัย หมั่นล้างมือกินอาหารปรุงสุกใหม่และสะอาดจะช่วยป้องกันโรคท้องเสียได้ ผู้ที่ดูแลเด็กเล็กควรหมั่นล้างมือโดยเฉพาะหลังจากเปลี่ยนผ้าอ้อมเพราะเชื้ออาจติดมืออยู่ได้นานหลายชั่วโมง เด็กๆมักแพร่เชื้อให้กันเองผ่านของเล่นจึงควรดูแลทำความสะอาดของเล่นอย่างทั่วถึง ไม่ใช้อุปกรณ์การกินร่วมกัน สำหรับเด็กเล็ก การกินนมแม่จะช่วยป้องกันโรคท้องเสียจากเชื้อไวรัสได้ส่วนหนึ่ง

อย่างไรก็ดีถึงแม้จะมีสุขอนามัยที่ดีและกินนมแม่ ก็ยังสามารถติดเชื้อไวรัสโรต้าได้เพราะไวรัสโรต้า แพร่เชื้อได้ง่ายด้วยปริมาณเชื้อเพียงเล็กน้อยคงทนอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้เป็นเวลายาวนานดังนั้น ต่อให้สะอาดเพียงใดก็ยังติดเชื้อไวรัสโรต้าจนท้องเสียได้

                                                                                                                      มีวัคซีนป้องกันโรคท้องเสียไหม
                      ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันท้องเสียจากไวรัสโรต้าแล้ว เป็นวัคซีนชนิดหยอด มี 2 บริษัทผู้ผลิต คือ RotarixTM หยอด 2 ครั้ง เมื่ออายุ 2 และ 4 เดือน และ RotateqTM หยอด 3 ครั้ง เมื่ออายุ 2, 4, 6 เดือนทั้งสองชนิดมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยที่ไม่ต่างกัน สำหรับประเทศไทยวัคซีนนี้ได้นำมาใช้นำร่องที่จังหวัดสุโขทัยเมื่อหลายปีที่ผ่านมาพบว่ามีประสิทธิภาพสูงถึงร้อยละ 88 และมีความปลอดภัยสูง แม้จะมีรายงานว่าวัคซีนนี้อาจกระตุ้นให้เกิดปัญหาลำไส้กลืนกันในอัตราที่น้อยมากประมาณ 1 ใน 100,000 ราย ซึ่งเป็นโรคที่รักษาได้ แต่เมื่อคำนึงถึงประโยชน์จากวัคซีนในการป้องกันโรคจะสูงกว่ามาก เด็กที่ได้รับวัคซีนป้องกันไวรัสโรต้าครบแล้ว อาจยังเกิดท้องเสียจากการติดเชื้อไวรัสโรต้าได้แต่จะมีอาการเบาลง องค์การอนามัยโลกจึงแนะนำว่าเด็กเล็กทุกคนควรได้รับการหยอดวัคซีนนื้ตั้งแต่อายุ 2 เดือน โดยการหยอดให้ พร้อมๆกับตอนที่รับวัคซีนอื่นๆของวัยนี้และวัคซีนป้องกันไวรัสโรต้านี้กำลังจะได้บรรจุในแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของเด็กไทยเร็วๆนี้ส่วนในขณะนี้ผู้ปกครองที่สนใจให้บุตรหลานของท่านรับวัคซีนนี้ ให้ปรึกษาแพทย์เพื่อรับวัคซีนนี้ได้ในสถานบริการทางการแพทย์ต่าง ๆ

                   ขอขอบคุณ บทความดีๆ จาก ผู้จัดการออนไลท์ และขอบคุณบทความจาก
                                       ศ.พญ.กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ
                              สาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์


+1 โดย ชาตรี

ลิ้งค์หัวข้อ: http://www.plengpakjai.net/index.php?topic=38323