ท่าทางที่ถูกต้องในกิจวัตรประจำวันนั้น เป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการบาดเจ็บของหลัง(โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวของหมอนรองกระดูกสันหลัง) อันได้แก่
1.ควรหลีกเลี่ยงท่าทางที่มีผลไปเพิ่มแรงดันต่อหัวหมอนรองกระดูกสันหลัง ได้แก่ ท่านั่งพับเพียบ ท่านั่งขัดสมาธิ ท่านั่งยองๆ ท่านั่งเหยียดขาโดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านั่งยองๆเพื่อทำกิจกรรมที่พื้น เช่นถอนหญ้า ล้างรถ ทำความสะอาดพื้น ควรเปลี่ยนจากท่านั่งยองๆเป็นท่าคุกเข่า เนื่องจากมีผู้รายงานว่าในท่านั่งขัดสมาธินั้นสามารถก่อให้เกิดอาการล้าของกล้ามเนื้อลำตัวได้
2. ควรหลีกเลี่ยงการทำงานที่อยู่ในท่าก้มๆเงยๆนานเกิน 20 นาที
3.ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในท่านั่งนานๆทั้งนี้เพราะมีงานวิจัยรายงานว่าหมอนรองกระดูกสันหลังสามารถเกิดการยุบตัวจากแรงกดเท่ากับ6.65มิลลิลิตร(ตลอดลำสันหลัง)หลังจากการนั่งเป็นเวลา 25 นาที ฉะนั้นควร้ปลี่ยนท่าทางบ่อยๆ ระหว่างการยืน การเดิน การนั่ง แต่ถ้าท่านอยู่ในห้องที่ไม่สามารถเปลี่ยนได้สะดวกเช่นในห้องประชุม ท่านควรเปลี่ยนท่านั่งบ่อยๆเช่น นั่งหลังตรง,นั่งพิงหลัง,นั่งเอามือเท้าโต๊ะ สลับกัน
4.ควรหลีกเลี่ยงการเดินทางไกล ผู้ป่วยปวดหลังส่วนใหญ่มักมีอาการแย่ลงหลังจากการเดินทางไกล ทั้งนี้เนื่องจากแรงสั่นสะเทือนสามารถส่งผลไปเพิ่มแรงอัดต่อหมอนรองกระดูกสันหลัง แต่ถ้ามีความจำเป็นที่จะต้องเดินทางไกลโดยรถยนต์แนะนำให้เดินทางด้วยความเร็วต่ำ เนื่องจากความเร็วในการขับรถมีผลต่อการเกิดแรงกดตัวต่อหมอนรองกระดูก รวมทั้งให้แวะปั๊มบ่อยๆเพื่อผ่อนคลายแรงตึงต่อหลัง
5. ควรลดน้ำหนักตัว เนื่องจากน้ำหนักมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการยุบตัวของหมอนรองกระดูก
6. ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายในท่าดีดตัวลุกขึ้นนั่ง เพราะจะมีผลไปเพิ่มแรงดันต่อตัวหมอนรองกระดูกค่อนข้างสูง
7. ควรออกแบบสภาพงานให้เหมาะสมเช่นจัดระดับที่วางของให้เหมาะสมกับความสูงของตน ไม่ยกวุตถุจากที่ต่ำหรือที่สูงบ่อยจนเกินไป หลีกเลี่ยงการบิดหรือเอียงตัวในการยกของ
8. ถ้ามีอาการปวดเมื่อยหลังหลังจากการทำงานหรือเดินทางไกล ควรนอนพักในท่านอนคว่ำโดยมีหมอนรองที่บริเวณหน้าอก1ใบเป็นเวลา5นาทีเพื่อเป็นการดันชั้นในของหมอนรองกระดูกให้กลับสู่ศูนย์กลางโดยให้ทำวันละ3ครั้ง(เช้ากลางวันเย็น)
9. ควรหลีกเลี่ยงการยกของหนักเกินร้อยละ15ของดัชนีมวลกาย รวมทั้งควรย่อเข่า และเกร็งกล้ามเนื้อร่วมด้วยในขณะที่ยก แต่ถ้าจำเป็นต้องยกหนักเกินแนะนำให้สวมใส่เครื่องพยุงหลังในขณะที่ยกของ เนื่องจากเครื่องพยุงหลังสามารถที่จะลดแรงที่ไปกระทำต่อเนื้อเยื่อของหลังได้
ข้อมูลของรศ.ดร.รุ้งทิพย์ พันธุเมธากุล